วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (C++)

ภาษาC++
ภาษาซีพลัสพลัสคืออะไรเอ่ย?

ภาษาซีพลัสพลัส (อังกฤษ: C++) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990

ผู้ที่ทำให้เราได้รู้จักกับภาษาC++

เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชันมาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2003 ในปัจจุบันมาตรฐานของภาษาในเวอร์ชันใหม่ (รู้จักกันในชื่อ C++0x) กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา


รูปแบบของภาษาซีพลัสพลัสมีอะไรบ้าง? ...มาดูกัน :)
·         ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี
·         ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า
·         ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี (ดูเพิ่มเติมที่ Compatibility of C and C++)
·         มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์
·         ภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาให้รองรับรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm)

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

ข้อดีและข้อเสียของโซเชียลเน็ตเวิร์ก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjp8rsf9EGX8QUfURT_eH1PmSyATlD4UgOc0AK0Ik3KyQkGcNQb87xTufK-8rkGE7JtFNiElhZMCkihBW30eBWWRCXTlb0gX7l5c5QNHTWzPbyO5woT8oxIliYfh77ggiJJWbYWQtcCEEwG/s1600/images.jpg
     ในปัจจุบันโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นสิ่งที่นิยมมากในทุกเพศทุกวัย เพราะการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วทำให้ทุกคนเลือกที่จะใช้มัน ถึงแม้ว่าจะมีข่าวสารมากมายเกี่ยวกับอันตรายของโซเชียลเน็ตเวิร์กก็ตามที แต่ทุกคนก็หาได้สนใจไม่ กลับเลือกความสะดวกสบายโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน.....
.
.
.
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กจะมีแต่ข้อเสียเสมอไปนะจ๊ะ :) แต่การที่เราจะเลือกใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นเราก็ควรจะดูให้ดีซะก่อนใช่ไหมล่ะ? ก่อนที่จะใส่ข้อมูลอะไรลงไป ยิ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวของเราด้วยแล้ว ยิ่งต้องระวังมากยิ่งขึ้น เพราะมิจฉาชีพเขาก็มาหลากหลายรูปแบบนะเธอออออ...

ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า โซเชียลเน็ตเวิร์ก คืออะไร?
    โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นเว็บไซต์สร้างเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลต่างๆที่ต้องการ หรือใส่ความสนใจที่ชอบ จากนั้นระบบจะค้นหาผู้ที่มีความสนใจในลักษณะเดียวกัน และผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบในการเชื่อมต่อไปหาผู้ใช้อื่นๆได้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiTU7yPvs2iv5yupOlgNWCJZ0dTht5Xq6UnaVwf7Sm-RJ7SboR0JXjmSVBBhDtr3lMJac7UDZ-p9kZQldx6ki3AiJXDmy_OH113s8i1vXmQcQtrmDCCAUaaT8JuH19F6PABpZ6_OHI33U7A/s320/social-network%5B1%5D.jpg
ทำความรู้จักกับโซเชียลเน็ตเวิร์กไปแล้วต่อมาเรามาดูกันดีกว่าว่า "ข้อดี" และ "ข้อเสีย" ของโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นมีอะไรบ้าง?
ข้อดีJ
     1.โซเชียลเน็ตเวิร์กจะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี
     2.ทำให้ไม่ตกข่าว คือทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด
     3.ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม แฟนคลับหรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกัน และทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้
     4.สามารถสร้างมิตรแท้ หรือเพื่อนที่รู้ใจที่แท้จริงได้
     5.โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี ไม่เหงาและปรับตัวได้ง่ายขึ้น
     6.สร้างเครือข่ายที่ดี สร้างความเห็นอกเห็นใจ และให้กำลังใจที่ดีแก่ผู้อื่นได้

ข้อเสียL 
     1.โซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นการขยายเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นการมีเพิ่มเพื่อนเครือข่ายที่ไม่รู้จักดีพอ จะทำให้เกิดการลักลอบขโมยข้อมูล หรือการแฝงตัวของขบวนการหลอกลวงต่างๆได้
     2.เพื่อนทุกคนในเครือข่ายสามารถเขียนข้อความต่างๆลง Wall ของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ได้แต่หากเป็นข้อความที่เป็นความลับ การใส่ร้ายกัน หรือแฝงไว้ด้วยการยั่วยุต่างๆ จะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีวุฒิภาวะพอ หลงเชื่อ เกิดความขัดแย้ง และปัญหาตามมาในภายหลังได้
     3.โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นช่องทางในการสร้างสังคมแห่งการนินทา หรือการยุ่งเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะสังคมที่ชอบสอดรู้สอดเห็น
     4.การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดให้กับบุคคลภายนอกที่ไม่รู้จักดีพอ เช่น การลงรูปภาพของครอบครัวหรือลูก อาจนำมาเรื่องปัญหาการปลอมตัว หรือการหลอกลวงอื่นๆที่คาดไม่ถึงได้
     5.เด็กๆที่ใช้เวลาในการเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก มากเกินไป จะทำให้เสียการเรียน
     6.ในการสร้างความผูกพันและการปรับตัวทางสังคมเป็นการพบปะกันในโลกของความจริง มากกว่าในโลกอินเตอร์เนต ดังนั้นผู้อยู่ในโลกของไซเบอร์มากเกินไปอาจทำให้มีปัญหาทางจิต หรือขาดการปรับตัวทางสังคมที่ดี โดยเฉพาะผู้ที่ชอบเล่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก ตั้งแต่ยังเด็ก
     7.โซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจเป็นแรงขับให้มีการพบปะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริงที่น้อยลงได้ เนื่องจากทราบความเคลื่อนไหวของผู้ที่อยู่ในเครือข่ายอย่างตลอดเวลา
     8.นโยบายของบางโรงเรียน บางมหาวิทยาลัย บางครอบครัวหรือในบางประเทศมีปัญหามากมายที่เกิดจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้ โซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ได้รับการอนุญาตให้มีในหลายพื้นที่ 

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhZgMHNTsdbzMMrI0mbOqxp9QXS4MElN2puBOt9SU8g52wHkdvdLjfxFpU2lTjtlo7VZRhfmoUo3f-lBqPxm93E5ihRHIi0bjZUE9mtIATgXXdxU_PLe9DhKXr326W-Xoen9kMa4WYL_zI/s1600/1.jpg
     การให้คำแนะนำเป็นสิ่งสำคัญ มิใช่เพียงผู้ใหญ่ให้คำแนะนำเด็กเท่านั้น ในบางครั้งเด็กก็สามารถให้คำแนะนำผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เปิดใจรับฟังกันและกัน อย่าถือตนเองเป็นใหญ่ไม่รับฟังใคร รับฟังไว้ก็ไม่เสียหายอะไรนะคะ หากเรามีปัญหาเราอาจได้ใช้คำแนะนำที่เราไม่อยากรับฟังเป็นทางออกก็ได้ J

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เรื่องที่นักเรียนสนใจ

http://www.smilinggroup.net/img_pro/201507150521332482389.jpg
มหาวิหารเซนต์บาซิล (อังกฤษSaint Basil's Cathedral; รัสเซีย: Собор Василия Блаженного) เป็นอาสนวิหารของศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ตั้งอยู่ที่จัตุรัสแดง กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย สร้างโดยซาร์อีวานที่ 4 หรือซาร์อีวานผู้โหดร้าย เพื่อฉลองชัยชนะเหนือพวกมองโกลที่กรีธาทัพมาเมืองคาซาน เมื่อปี ค.ศ. 1552 ผลจากชัยชนะครั้งนี้ทำให้รัสเซียสามารถรวมชาติได้เป็นปึกแผ่น จึงสร้างมหาวิหารแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1555

http://www.dugoal.co.th/images/tour_program/russia/moscow%20Tour05%20ST%20Basil.jpg
มหาวิหารเซนต์บาซิลมีรูปทรงที่ไม่เหมือนโบสถ์อื่น คือมีโดม 8 โดมล้อมรอบโดมที่ 9 ที่อยู่ตรงกลาง ทำให้อาคารมีรูปทรงแปดเหลี่ยม ด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบรัสเซียโบราณอันได้รับอิทธิพลมาจากไบแซนไทน์ที่เป็นโดมทรงหัวหอมกับสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่ารัสเซียนกอธิก หอคอยสูงรูปกระโจมเป็นอิทธิพลจากยุโรปตะวันตก ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงกลายเป็นหอคอยสูงรูปแท่งเทียนกำลังลุกไหม้บนปลายลำเทียน ส่งความโชติช่วงชัชวาลย์เป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์

http://www.tiewrussia.com/images/1267897792.jpg
มหาวิหารนี้ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชื่อปอสต์นิค ยาคอฟเลฟ (Postnik Yakovlev) และด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมจึงทำให้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า ซาร์อีวานที่ 4 ทรงพอพระทัยในความงดงามของมหาวิหารแห่งนี้มาก จึงมีคำสั่งให้ปูนบำเหน็จแก่สถาปนิกผู้ออกแบบด้วยการควักดวงตาทั้งสอง เพื่อไม่ให้สถาปนิกผู้นั้นสามารถสร้างสิ่งที่สวยงามกว่านี้ได้อีก การกระทำในครั้งนั้นของพระเจ้าอีวานที่ 4 จึงเป็นที่มาของสมญานามอีวานผู้โหดร้าย (Ivan The Terrible) บริเวณใกล้กันกับมหาวิหารเซนต์เบซิลขนาบข้างด้วยกำแพงเครมลิน เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานเลนินหรือสุสานเลนิน ซึ่งเก็บรักษาร่างของวลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำคนสำคัญของคอมมิวนิสต์ และเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเคารพศพได้